ยอดนักคณิตศาสตร์เอกของโลก


 

นักคณิตศาสตร์ผู้ยิ่งใหญ่ที่สุดเท่าที่โลกเคยมีมา Leonhard Euler

 

เลออนฮาร์ด ออยเลอร์ เป็นนักคณิตศาสตร์และนักฟิสิกส์ชาวสวิส  เขาได้ชื่อว่าเป็นนักคณิตศาสตร์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดคนหนึ่งเท่าที่โลกเคยมีมา

 

Leonhard Euler เป็นนักคณิตศาสตร์และนักฟิสิกส์ชาวสวิสเซอร์แลนด์ เขาได้ชื่อว่าเป็นนักคณิตศาสตร์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดคนหนึ่งเท่าที่โลกเคยมีมา เกิดเมื่อวันที่ 15 เมษายน พ.ศ. 2250 เกิดและโตในเมืองบาเซิล เขาเป็นเด็กที่มีความเป็นอัจริยะทางคณิตศาสตร์ เขาเป็นศาสตราจารย์สอนวิชาคณิตศาสตร์ที่เซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก และต่อมาก็สอนที่เบอร์ลิน และได้ย้อนกลับไปยังเซนต์ปีเตอร์สเบิร์กอีกครั้ง

 

Leonhard Euler เป็นคนแรกที่ใช้คำว่า “ฟังก์ชัน” (ตามคำนิยามของ ไลบ์นิซ ใน ค.ศ. 1694) ในการบรรยายถึงความสัมพันธ์ ที่เกี่ยวข้องกับตัวแปร เช่น = F(x) เขายังได้ชื่อว่าเป็นคนแรกที่ประยุกต์แคลคูลัสเข้าไปยังวิชาฟิสิกส์

 

Leonhard Euler เป็นนักคณิตศาสตร์ที่มีผลงานมากมายที่สุดคนหนึ่ง มีเรื่องเล่าว่าครั้งหนึ่ง ออยเลอร์ได้แก้ปัญหาที่สำคัญได้สำเร็จเตรียมที่จะส่งผลงานเข้าร่วมประกวดตีพิมพ์เผยแพร่ แต่เขารู้มาว่ามีนักคณิตศาสตร์รุ่นหลานคนหนึ่งกำลังจะแก้ปัญหาชิ้นนี้สำเร็จลงด้วยเช่นกัน เขาจึงได้ตัดสินใจไม่ส่งผลงานเข้าร่วม เพื่อเปิดโอกาสให้นักคณิตศาสตร์รุ่นหลังได้มีโอกาสบ้าง โดยเขาให้เหตุผลสั้น ๆ ว่า “พอแล้ว


Leonhard Euler มีผลงานทั้งหมดที่รวบรวมได้ถึง 75 เล่ม ผลงานของเขามีอิทธิพลอย่างมากต่อผลงานทางคณิตศาสตร์ในศตวรรษที่ 18 เขาต้องสูญเสียการมองเห็น และตาบอดสนิทตลอด 17 ปีสุดท้ายในชีวิตของเขา ซึ่งในช่วงนี้เองที่เขาสามารถผลิตผลงานได้ถึงเกือบครึ่งหนึ่งของผลงานทั้งหมดของเขาLeonhard Euler เสียชีวิตเมื่อวันที่ 18 กันยายน พ.ศ.2326 “ดาวเคราะห์น้อย 2002 ออยเลอร์” ได้ถูกตั้งชื่อเพื่อเป็นเกียรติแก่เขา

 

ปราชญ์คณิตศาสตร์ยอดอัจฉริยะ Euclid of Alexandria 

 

ยูคลิดเป็นนักคณิตศาสตร์คนสำคัญ เขาเกิดที่เมืองอเล็กซานเดรีย ประเทศอิยิปต์ เมื่อราว 365 ปี ก่อนคริสตกาล มีชีวิตอยู่จนกระทั่งประมาณปี 300 ก่อนคริสตกาล ผลงานที่มีชื่อเสียงของเขาคือผลงานเรื่องThe Elements

 

หลักฐานและเรื่องราวเกี่ยวกับตัวยูคลิดยังคงสับสน เพราะมีผู้เขียนไว้หลายรูปแบบ อย่างไรก็ตามผลงานเรื่อง The Elements ยังคงหลงเหลืออยู่จนถึงทุกวันนี้ จากหลักฐานที่สับสนทำให้สันนิษฐานที่เกี่ยวกับยูคลิดมีหลายแนวทาง เช่น ยูคลิดเป็นบุคคลที่เขียนเรื่อง The Elements หรือยูคลิดเป็นหัวหน้าทีมนักคณิตศาสตร์ที่อาศัยอยู่ที่อเล็กซานเดรีย และได้ช่วยกันเขียนเรื่อง The Elements อย่างไรก็ดีส่วนใหญ่ก็มั่นใจว่ายูคลิดมีตัวตนจริง และเป็นปราชญ์อัจฉริยะทางด้านคณิตศาสตร์ที่มีชีวิตในยุคกว่า 2,000 ปี


ผลงาน The Elements แบ่งออกเป็นหนังสือได้ 13 เล่ม ใน 6 เล่มแรกเป็นผลงานเกี่ยวกับเรขาคณิต เล่ม 7, 8 และ 9 เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับทฤษฎีตัวเลข เล่ม 10 เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับทฤษฎีที่ว่าด้วยจำนวนอตรรกยะ เล่ม 11, 12 และ 13 เกี่ยวข้องกับเรื่องราว รูปเรขาคณิตทรงตัน และปิดท้ายด้วยการกล่าวถึงรูปทรงหลายเหลี่ยม และข้อพิสูจน์เกี่ยวกับรูปทรงหลายเหลี่ยม


ผลงานของยูคลิดเป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวางและกล่าวกันว่าผลงาน The Elements เป็นผลงานที่ต่อเนื่องและดำเนินมาก่อนแล้วจากผลงานของนักคณิตศาสตร์ยุคก่อน เช่น เธลีส (Thales) ฮิปโปเครตีส (Hippocrates) และพีทาโกรัส (Pythagoras) อย่างไรก็ตาม หลายๆผลงานที่มีในหนังสือนี้เป็นที่เชื่อกันว่าเป็นบทพิสูจน์และผลงานของยูคลิดเอง

 

ผลงานของยูคลิดได้รับการนำมาจัดทำใหม่ และตีพิมพ์เผยแพร่ครั้งแรกในปี ค.ศ. 1482 หลังจากนั้นมีผู้นำมาตีพิมพ์อีกมากมายนับจำนวนครั้งไม่ถ้วนหลัก การหา ห.ร.ม.ที่ง่ายที่สุดและรู้จักกันดีจนถึงปัจจุบันคือ ให้นำตัวเลขจำนวนน้อยหารตัวเลขจำนวนมาก เศษที่เหลือมาเทียบกับเลขจำนวนน้อย จับหารกันไปเรื่อย ๆ ทำเช่นนี้จนลงตัว ได้ ห.ร.ม. คือ ตัวเลขตัวสุดท้าย


 

 

 

 

 

 

 

 

นักคณิตศาสตร์ยอดอัจฉริยะ Srinivasa Ramanujan 

 

Srinivasa Ramanujan คือนักคณิตศาสตร์ชาวอินเดียผู้ยิ่งใหญ่คนหนึ่งของโลก เกิดเมื่อวันที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2430 Ramanujan มีความสามารถด้านคณิตศาสตร์สูงกว่าเด็กวัยเดียวกันได้รับทุนการศึกษาไปเรียนต่อที่วิทยาลัย Government College เมื่อมีอายุ 16 ปี

 

Ramanujan หลงใหลหนังสือชื่อ Synopsis of Elementary Results in Pure and Applied Mathematics ของ G. S. Carr ผู้เคยเป็นอาจารย์สอนคณิตศาสตร์ที่มหาวิทยาลัย Cambridge ในประเทศอังกฤษ ในหนังสือเล่มนี้มีสูตรคณิตศาสตร์ต่างๆมากมายแต่ไม่ได้แสดงการพิสูจน์เอาไว้ Ramanujan มุ่งมั่นหาวิธีพิสูจน์สูตรต่างๆ ด้วยตนเอง จนไม่สนใจศึกษาวิชาอื่นๆ เขาจึงสอบไล่ตกในปีแรก และถูกตัดทุนเล่าเรียนในเวลาต่อมา Ramanujan ได้พยายามสอบเข้าวิทยาลัยอีก 2 ครั้ง แต่เข้าไม่ได้ เพราะอ่อนวิชาภาษาอังกฤษ และได้คะแนนดีเฉพาะวิชาคณิตศาสตร์เพียงวิชาเดียว

 

Ramanujan ได้นำผลงานคณิตศาสตร์ที่ตนทำด้วยตนเองในยามว่างไปให้ศาสตราจารย์ Diwan B. Rao แห่ง Presidency College ได้อ่าน แต่ Rao ตัดสินไม่ได้ว่า สูตรต่างๆ ที่เขาเห็นนั้นถูกหรือผิดอย่างไร Ramanujan รู้ว่า Rao ไม่เข้าใจสูตรสมการของเขา วันรุ่งขึ้น Ramanujan จึงได้กลับมาพร้อมกับนำสูตรที่มีเนื้อหาง่ายขึ้นมาให้ Rao อ่าน เมื่อ Rao ได้เห็นสูตรใหม่ต่างๆ เขารู้สึกประทับใจมาก จึงตกลงใจจ้าง Ramanujan เป็นนักวิจัย

 

Ramanujan ตีพิมพ์งานวิจัยชิ้นแรกในชีวิตเรื่อง Some Properties of Bernoulli's numbers ในวารสาร Journal of the Indian Mathematical Society ในปี พ.ศ. 2453 ผลงานชิ้นนี้ทำให้ S. N. Aigar ผู้เคยศึกษาที่ประเทศอังกฤษ รู้สึกประทับใจมาก จึงบอกให้ Ramanujan เขียนจดหมายถึงนักคณิตศาสตร์ต่างๆ ที่มหาวิทยาลัย Cambridge โดยให้แนบงานวิจัยของ Ramanujan ไปด้วย

 

ศาสตราจารย์ Godfrey Hardy วัย 36 ปี เป็นเพียงคนเดียวเท่านั้นที่ตอบจดหมายของ Ramanujan เมื่อได้พินิจพิเคราะห์อย่างละเอียด เขารู้สึกเฉลียวใจว่า นี่ไม่ใช่ผลงานระดับธรรมดา Hardy ได้เชิญ John E. Little Wood แห่ง Trinity College ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญวิชา calculus และ number theory มาช่วยพิจารณา คนทั้งสองใช้เวลาตรวจสอบนานประมาณ 3 ชั่วโมง และมีความเห็นว่าผลงานเรื่อง infinite series, infinite products, continued fractions และ integrals ที่ Ramanujan เขียนมานั้น เป็นผลงานของปราชญ์คณิตศาสตร์ ที่แม้แต่ Hardy และ Little Wood เองก็ไม่มีความสามารถสูงเท่า ดังนั้น Hardy จึงตัดสินใจเขียนจดหมายเชิญ Ramanujan มาทำงานร่วมกับเขาที่มหาวิทยาลัย Cambridge ในประเทศอังกฤษ โดยสัญญาจะให้เงินค่าเดินทาง และค่ากินอยู่มากกว่าเงินที่ Ramanujan รับอยู่ในอินเดียประมาณ 30 เท่า

 

ในวันที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2457 Ramanujan ออกเดินทางไปหา Hardy ที่ Cambridge และเดินทางถึงในอีก 1 เดือนต่อมาตลอดเวลา 5 ปีที่พำนักในอังกฤษ Ramanujan ได้ตีพิมพ์งานวิจัย 21 เรื่อง และงานหลายชิ้นเป็นงานที่ทำร่วมกับ Hardy ซึ่งก็ได้ทำให้ Hardy มีชื่อเสียงด้วย Hardy เองได้พยายามทำให้วงการคณิตศาสตร์โลกยอมรับความสามารถของ Ramanujan โดยได้เสนอให้ Ramanujan ดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์คณิตศาสตร์แห่งมหาวิทยาลัย Cambridge และเสนอให้ Ramanujan เป็น Fellow of the Royal Society (FRS) อันทรงเกียรติด้วย เมื่อข้อเสนอของ Hardy บรรลุผล Ramanujan ก็ได้เป็นคนอินเดียคนแรกที่ได้รับเลือกให้เป็น FRS

 

การทำงานหนักที่ต่อเนื่องมานาน  ทำให้สุขภาพของ Ramanujan ทรุดโทรมจนป่วยหนัก ในปี พ.ศ. 2462 Ramanujan ก็ได้เดินทางกลับอินเดียเพื่อรักษาตัว พร้อมกันนั้นก็ได้ดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์คณิตศาสตร์ที่มหาวิทยาลัย Madras แต่เมื่อเดินทางถึงอินเดีย Ramanujan กลับหมกมุ่นอยู่กับการวิจัยเรื่อง theta functions จนป่วยหนัก และต่อมาได้เสียชีวิต เมื่อวันที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2463 ขณะมีอายุได้เพียง 32 ปีเท่านั้น

 

หากโลกของเรามี อัจฉริยะที่ไม่ธรรมดาอย่าง Albert Einstein แล้วเรายังมีนักคณิตศาสตร์อัจฉริยะผู้ยิ่งใหญ่อยู่อีกหนึ่งคนนั่นก็คือ Srinivasa Ramanujan

 

Advertising Zone    Close

ยังไม่ได้ลงทะเบียน

เว็บไซต์นี้ยังไม่ได้ลงทะเบียนยืนยันการเป็นเจ้าของเว็บไซต์กับ Siam2Web.com